ความท้าทายของผู้สอน: การบรรยายในคลาสบ่าย!!

บันทึกการสอน active lecturing จาก class: Stable management

สำหรับผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ใช่คณาจารย์ในคลินิกม้า คณะสัตวแพทยศาสตร์ ขออนุญาตเล่า background ของหัวข้อนี้นิดนึงนะคะ
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่สอนเกี่ยวกับการจัดการคอกม้าในกระบวนวิชาการขี่ม้าและการดูแลม้าสำหรับนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 2
 ตารางสอนของหัวข้อนี้เป็นการสอนในวันที่สองและเป็นช่วงบ่าย ต่อจากช่วงเช้าที่นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งบรรยายและปฏิบัติการในหัวข้อการจับบังคับม้า...ลองนึกตามว่า...

1. นักศึกษาเพิ่งทำความรู้จักกับม้า อาจชอบหรือไม่ชอบม้าก็ได้
2. นักศึกษาเพิ่งผ่านการเรียนหัวข้อที่ตื่นเต้น และใช้พลังงานในการทำ activity สูงมาก
3. นักศึกษาเพิ่งทานข้าวเที่ยงมาอิ่ม
4. นักศึกษาต้องมานั่งเรียนในห้องแอร์ช่วงบ่าย 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นคลาสเราเอง....T^T

จะเห็นว่ามีแต่ปัจจัยที่จะทำให้นักศึกษาขาด engagement ในห้อง.... ซึ่งในปีที่ผ่านๆมา ก็เป็นอย่างนั้นค่ะ...ไม่ต้องจินตนาการ....หลับไปซะกว่าครึ่งห้อง....

ปีนี้ครูจะไม่ยอมอีกต่อไป...^__^


เราเลือกเทคนิคกระตุ้นการตื่นตัวดังนี้ค่ะ
1. เสียงเพลง...ถูกจริตวัยรุ่นแน่นอนค่ะ แต่สิ่งที่กังวลตอนแรกคือ..เราไม่ใช่คนติดตามผลงานเพลงงัย....กลัวจะเปิดมาแล้วเพลงเชยอ่ะ......เอางี้..เปิดเพลงจากเนตที่มันเขียนว่า top chart inter ละกัน.. ไม่ต้องรู้จักเพลง เอาเป็นว่ามันไม่เชยแน่ๆน่า...5555 ..อ้อ เราเปิดเพลงตอนระหว่างรอนักศึกษาเข้าห้องเรียน และเปิดระหว่างพักเบรคค่ะ
2. เกม....อันนี้ก็ถูกจริตเด็กวัยรุ่น...แต่มันไม่ถูกจริตครูน่ะ....ดังนั้นเลือกเกมที่เรารู้สึกสบายๆนะคะ เราเลือกเกมกะหล่ำ....อันที่จริงก็ไม่ได้รู้หรอกว่าเกมกะหล่ำเนี่ยมันมีกติกายังงัย...งั้นเราก็สร้างกติกาของเราเองไปเลยค่า....เราใช้กะหล่ำมาทดแทนการเรียกชื่อนักศึกษาตอบคำถามค่ะ ใช้กระดาษปั้นเป็นก้อนๆ แล้วให้นักศึกษาส่งต่อๆกันภายในห้อง ระหว่างนั้นเปิดเพลงไปด้วย เมื่อเพลงหยุดให้แกะก้อนกระดาษดูว่ามีคำสั่งให้ใครเป็นผู้ตอบคำถาม อาจเป็นนักศึกษาเอง หรือเพื่อนที่อยู่รอบๆตัวก็ได้ค่ะ ห้ามนักศึกษาโยนกะหล่ำทิ้งลงพื้นนะคะ ถ้าใครทิ้ง คนนั้นได้ตอบคำถามเองเลยค่าา ...จริงๆเกมกะหล่ำมีความตื่นเต้นในตัวเองอยู่แล้ว แต่เราเพิ่มความน่าสนใจไปอีกนิดเพราะต้องการให้แน่ใจว่ากระหล่ำเราชนะความง่วงของเด็กได้จริงๆ เราเลยใช้กระดาษสีสดใสทำเป็นเปลือกกะหล่ำค่ะ


3. ชวนคิดตอบคำถาม..ไม่ใช่ quiz ก่อนเรียนหรือระหว่างเรียนนะคะ แต่เป็นคำถามที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เราเพิ่งสอนไป ...การสร้างคำถามไม่เน้นคำตอบนะคะ เน้นกระบวนการคิดและการให้เหตุผลของนักศึกษาค่ะ เทคนิคนี้นักศึกษาให้ผลตอบรับดีมากค่ะ เค้าบอกว่าชอบ เพราะความเห็นของเค้าไม่มีผิดถูก มีแต่เหตุผลค่ะ ..ทักษะการสร้างคำถามของอาจารย์เพื่อถามนักศึกษาในลักษณะนี้ รวมถึงการให้ feedback/reflection อาจารย์จำเป็นต้องฝึกฝนนะคะ เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ participation ในห้องที่ดี และกล้าที่จะมี creativity ค่ะ
4. incentive เราเลือกของเล็กๆน่ารักๆ ใช้ได้ทั้งชาย หญิง คราวนี้เลือกเป็นปลอกดินสอสีสันสดใสค่ะ ...แต่เชื่อไหม สำหรับเด็กคลาสนี้ incentive ไม่จำเป็นเลยค่ะ...เค้าสนใจที่จะตอบคำถามโดยไม่สนว่าครูมีของรางวัลให้หรือเปล่านะ

4. กระดาษคำถาม..จริงๆไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อการเขียนคำถามเท่านั้นค่ะ เราใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างครูกับนักศึกษา ถึงแม้ว่าเด็ก generation นี้มีความกล้าแสดงออกมากกว่าสมัยก่อน แต่การถามคำถามในห้องก็ยังเป็นสิ่งที่ยากอยู่ดีค่ะ วิธีนี้เปิดโอกาสให้เด็กได้ถามคำถามและสื่อสารกับเราได้อย่างทั่วถึงนะคะ เราแจกกระดาษนี้ตั้งแต่ตอนเริ่มเข้าเรียนค่ะ และบอกนักศึกษาด้วยว่า หากใครต้องการให้อาจารย์ตอบคำถามให้ใส่อีเมล์มาด้วยค่ะ และเค้าสามารถเขียนความรู้สึกลงในกระดาษนี้ได้ด้วย

5. พักระหว่างเรียนเป็นระยะๆ (เรื่องนี้เราได้เขียนไว้ใน Active lecturing 1 แล้วค่ะ)

โดยสรุป เราไม่ต้องลดทอนเนื้อหาการสอนของเราลงเลย และนักศึกษาก็ตื่นตัวตลอดทั้งสองชั่วโมง มีเพียงคนเดียวที่เราเห็นหลับ (ซึ่งตอนหลังเค้าเขียนมาในกระดาษน้อยที่เราแจกให้ ว่าเค้าขอโทษที่หลับ เค้าเหนื่อยและอิ่มมากไม่ไหวจิงๆ 5555) นักศึกษาชอบเสียงเพลง ชอบเกม (บางคนบอกว่าอยากได้เกมที่ได้มี participate กับเพื่อนมากกว่านี้ ...เครจ้ะ เด๋วครูไปหาดูก่อนนะ) ชอบที่ได้ตอบคำถามแบบ debate กัน ไม่มีผิดถูก และที่สำคัญ...เค้าบอกว่าเค้าเข้าใจเนื้อหาได้ดีทีเดียวค่ะ..นอกจากนี้ นักศึกษาทุกคนมีคำถามที่เขียนส่งมาให้ (ซึ่งในปีก่อนๆถ้าถามว่ามีใครมีคำถามไหมคะ ...ห้องจะเงียบสงัดและทุกคนเตรียมจะวิ่งออกจากห้องเรียน ประหนึ่งว่าจะขาดอากาศหายใจกันหมดแล้วงั้นแหละ) สะท้อนถึง engagement ที่ประสบความสำเร็จจริงๆ...เยส!!!



ใครจะเอาเทคนิคที่เล่ามาไปใช้บ้าง ไม่หวงเลยนะคะ อย่าลืมกลับมาเล่าให้ฟังด้วยว่าได้ผลหรือไม่อย่างไรค่ะ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

TBL Memo: First session

Curve of Change episode 1