บทความ

TBL Memo: First session

รูปภาพ
บันทึก TBL วันที่ 14 มกราคม 2562 เป็นการเริ่มเรียนแบบ TBL ครั้งแรก แต่เราขอใช้ session ในวันนี้เป็น session ทดลองเพื่อให้นักศึกษามีการปรับตัวและถือว่าเป็นการทดลองระบบไปในตัวด้วย ตามที่วางแผนไว้ ในทุก ๆ session จะมีคะแนนเก็บจากการทำ quiz แต่ของสัปดาห์นี้ยังยกเว้นให้ค่ะ เพื่อให้นักเรียนไม่กังวลกับกระบวนการที่จะเกิดขึ้น อุปกรณ์ที่เราเตรียมให้สำหรับ TBL แต่ละกลุ่ม เราตั้งใจไว้แต่แรกว่าวิชานี้เราจะไม่เก็บคะแนนจากการเช็คชื่อ เพราะอยากเห็นผลของการเรียนแบบ TBL ว่าจะสามารถดึงดูดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนด้วยตัวเองหรือไม่ แต่เราก็แอบให้ positive reinforcement ของการมาเข้าเรียนตรงเวลาด้วยการมอบสติกเกอร์ให้กับกลุ่มที่มาครบก่อนเวลาเรียน (เราจัดกลุ่มให้เด็กนะคะ การกระจายความแตกต่างของผู้เรียนสำคัญมากสำหรับการสอนแบบนี้) ขั้นตอนแรกของวันนี้ เราสมมติเหตุการณ์ ให้นักศึกษาได้ศึกษา material ที่เตรียมไว้ให้บนระบบ moodle ประหนึ่งเหมือนอยู่ที่บ้าน โดยต่างคนต่างทำการศึกษาด้วยตัวเอง (ในส่วนนี้พบปัญหาคลิปวิดิโอจาก youtube บางอันไม่สามารถเชื่อมลิงค์ไปได้ ต้องแก้ปัญหาด้วยการเปิดให้ดูพร้อมกันบน scree

Teaching from remote!

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม CMU 21st century learning day ที่จัดโดย TLIC-ITSC ได้ความรู้ที่น่าสนใจหลายอย่าง และคิดว่าน่าจะแชร์ให้หลายๆคนได้ทราบไปด้วยกันค่ะ ส่วนที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของงานนี้คือการที่ได้รู้จัก solutions ต่างๆที่จะนำมาใช้ในห้องเรียนได้ รวมถึงการเรียนการสอนแบบที่เรียกว่า anywhere-anytime (แน่นอนว่า ไม่สามารถทดแทนปฏิบัติการ หรือการฝึกปฏิบัติบนคลินิกที่ต้องมาปฏิบัติจริงนะคะ.. อันนี้ไม่รวมค่ะ) อันที่จริง สำหรับคณะทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ การที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียนไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีหลายครั้งที่ความจำเป็นบังคับให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้ามาห้องเรียนได้ เช่น การไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ หรือภาวะเจ็บป่วย นัดพบแพทย์ ทำให้ไม่สามารถมาอยู่ในห้องเรียนได้ ในกิจกรรมนั้น ได้แนะนำ application ไว้ตัวหนึ่ง ซึ่งเป็น app รองรับการประชุม conference ทางไกล แต่เราสามารถนำมาใช้กับการเรียนทั้งแบบกลุ่มเล็ก และคลาสใหญ่ก็ได้ค่ะ ที่สำคัญ..มีทั้งแบบฟรี และเสียเงิน (ไม่แพง) นะคะ ถ้าสนใจ คลิกไปศึกษาเพิ่มเติมที่  https://zoom.us/  ด้านท้ายของเพจจะมีคลิปแนะ

ความท้าทายของผู้สอน: การบรรยายในคลาสบ่าย!!

รูปภาพ
บันทึกการสอน active lecturing จาก class: Stable management สำหรับผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ใช่คณาจารย์ในคลินิกม้า คณะสัตวแพทยศาสตร์ ขออนุญาตเล่า background ของหัวข้อนี้นิดนึงนะคะ หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่สอนเกี่ยวกับการจัดการคอกม้าในกระบวนวิชาการขี่ม้าและการดูแลม้าสำหรับนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 2  ตารางสอนของหัวข้อนี้เป็นการสอนในวันที่สองและเป็นช่วงบ่าย ต่อจากช่วงเช้าที่นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งบรรยายและปฏิบัติการในหัวข้อการจับบังคับม้า...ลองนึกตามว่า... 1. นักศึกษาเพิ่งทำความรู้จักกับม้า อาจชอบหรือไม่ชอบม้าก็ได้ 2. นักศึกษาเพิ่งผ่านการเรียนหัวข้อที่ตื่นเต้น และใช้พลังงานในการทำ activity สูงมาก 3. นักศึกษาเพิ่งทานข้าวเที่ยงมาอิ่ม 4. นักศึกษาต้องมานั่งเรียนในห้องแอร์ช่วงบ่าย 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นคลาสเราเอง....T^T จะเห็นว่ามีแต่ปัจจัยที่จะทำให้นักศึกษาขาด engagement ในห้อง.... ซึ่งในปีที่ผ่านๆมา ก็เป็นอย่างนั้นค่ะ...ไม่ต้องจินตนาการ....หลับไปซะกว่าครึ่งห้อง.... ปีนี้ครูจะไม่ยอมอีกต่อไป...^__^ เราเลือกเทคนิคกระตุ้นการตื่นตัวดังนี้ค่ะ 1. เสียงเพลง...ถูกจริตวัยรุ่นแน่นอนค่ะ แต่สิ่งที่

Curve of Change episode 2

รูปภาพ
งานเขียนนี้แปล และ edit จากต้นฉบับของ Prof. Erin Malone, University of Minnesota Curve of Change episode 2 ในบทความที่แล้วกล่าวถึงความยากลำบากของผู้เรียนในการเผชิญและก้าวข้ามผ่านอุปสรรคก่อนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่สิ่งที่ยากไปกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือ ไม่ใช่เพียงผู้เรียนที่จะต้องเผชิญทุกขั้นตอนนี้ ตัวผู้สอนเองก็ต้องเผชิญด้วยเช่นกัน และอาจจะยากกว่าผู้เรียนด้วยซ้ำ เนื่องจากผู้สอนมักมีความคาดหวังต่อการสอนของตนเองสูงมาก เราต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างใช้เวลา จากประสบการณ์แล้ว สำหรับ flipped classroom ผู้สอนจะใช้เวลาปรับตัวให้เข้าที่อย่างน้อย 2-3 ปี  ช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงจะยากและซับซ้อนมากกว่าที่ผู้สอนคิด ดังนั้น การใช้เทคนิคการสอน flipped classroom ที่มีโครงสร้างรูปแบบชัดเจนแล้ว มีการพิสูจน์ความสำเร็จให้เห็นแล้ว (เช่น Team-based Learning: TBL) จะช่วยผู้สอนให้เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้นและดีกว่าการลองผิดลองถูกเอง รูปแบบการเรียนที่สม่ำเสมอมีความสำคัญต่อผู้เรียนที่ถูกสอนผ่านวิธีนี้เพราะช่วยลดภาระของสมองในการปรับตัวจดจำกระบวนการที่หลากหลายเกินความจ

Curve of Change episode 1

รูปภาพ
งานเขียนนี้แปล และ edit จากต้นฉบับของ Prof. Erin Malone, University of Minnesota Curve of Change episode I มีหลายงานวิจัยในชั้นเรียนที่พิสูจน์ว่า Active learning ให้ผลดีในการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ และการคงอยู่ของความรู้ต่อผู้เรียน โดยเฉพาะในสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึงสาขาสัตวแพทยศาสตร์ด้วย แต่เป็นเรื่องยากจริงๆ ที่จะนำเอา Active learning บรรจุเข้าไปในหลักสูตรโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนนี้เลย Active learning เช่น การสอนแบบห้องเรียนกลับทาง (flipped classroom) อาศัยการศึกษาความรู้พื้นฐานด้วยตนเองของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่ห้องเรียน ย่อมนำมาซึ่งความเครียด และความต่อต้าน ผู้ที่จะนำเทคนิคนี้มาใช้ จำเป็นต้องเข้าใจระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น Kubler-Ross change curve มักถูกนำมาใช้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสีย ทั้งในแวดวงธุรกิจ และการบริหารองค์กร จึงเริ่มมีการนำมาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงในด้านการเรียนรู้ Flipped classroom คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่มวิชาชีพทางก

Active lecturing: การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ สร้างความแตกต่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ EP2

รูปภาพ
การใช้ประโยชน์จากคำถามในห้องเรียน "นักศึกษามีคำถามไหมคะ/ ครับ" ....มักจะตามมาด้วยความเงียบสงัด  เราที่เป็นผู้สอน เป็นอันมโนกันว่า...ผู้เรียนเข้าใจทั้งหมด หรือไม่ก็..ไม่เข้าใจอะไรเลย.... แล้วจะท ำยังงัยถึงจะบอกได้ว่าผู้เรียน เข้าใจ ไม่เข้าใจ หรือไม่รู้แม้กระทั่งว่าควรจะเข้าใจอะไร.. ..  เราสามารถปรับเทคนิคการสร้างคำถามเพื่อวัดความเข้าใจจากผู้เรียนได้ค่ะ ... อาจให้ผู้เรียนได้มีเวลาเขียนคำถามที่เก ิดขึ้นระหว่างเรียน (ที่ยังไม่กล้ายกมือถาม) และให้ผู้เรียนได้อ่านคำถามนั้นในภายหลัง วิธีนี้นอกจากจะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ซั กถาม และผู้สอนมีโอกาสรวบรวมประเด็นที่ผู้เรียน หลายคนไม่เข้าใจ ยังเป็นการฝึกผู้เรียนให้คิดตั้งคำถามต่อย อด  ...คำถามที่เกิดจากผู้เรียนนี้ ยังสามารถชี้เป้าให้ผู้สอนได้ว่า เนื้อหาในจุดใดที่ผู้เรียนยังคงไม่แน่ใจหรือสับสน โดยเฉพาะจุดที่มีผู้เรียนไม่เข้าใจเหมือนๆกันหลายคน ทำให้ผู้สอนเลือกจุดปรับปรุงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ หากผู้สอนนำคำถามเหล่านั้นมาใช้ประกอบก ารเตรียมตัวสอบให้ผู้เรียน หรือแม้กระทั่งนำมาใช้เป็นข้อสอบจริงๆ (เลือกข้อที่ดี่ที่สุดสัก 2-3 ข้

Active lecturing: การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ สร้างความแตกต่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ EP1

รูปภาพ
เทคนิคน่าลองสำหรับการสอนบรรยาย การบรรยายยังคงเป็นเทคนิคที่จำเป็นและยังคงใช้อยู่ในกระบวนวิชาส่วนใหญ่ แม้ว่าวิธีบรรยายมักจะเป็นจำเลยว่าเป็นเทคนิคที่ช่วยให้นักเรียนหรือผู้ฟังเบื่อและจิตหลุดลอยมากที่สุด ยิ่ง การบรรยายหลายๆชั่วโมง ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเหนื่อย ผู้เรียนขาดความสนใจตั้งแต่ 30 นาทีแรก  แล้วจำเป็นไหมที่เราต้องเลิกการบรรยายเสียให้หมด? ...ไม่หรอกค่ะ เพราะเราสามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้าใจและสนใจบทเรียนจากการบรรยายได้นะคะ ลองแบ่งเวลาสัก 90 วินาที ในทุกๆ 40-60 นาทีของชั่วโมงเรียน ให้ผู้เรียนได้เขียนสรุป 1-3 ประโยค หรือเขียนคำถามแล้วถามเพื่อนข้างๆ นอกจากจะสร้างความตื่นตัวให้กับนักศึกษาเป ็นระยะๆแล้ว ยังส่งเสริมความจำของบทเรียนนั้นได้อย่างด ี  เพราะสมองของมนุษย์ไม่จดจำสิ่งใดจากการได้ยินเพียงอย่างเดียว แต่สมองจะต้องคิดคำถามและเกิดการวิเคราะห์ร่วมไปด้วยนั่นเอง (Credit: Teaching Enrichment Workshop by Center of Education Innovation (CEI), University of Minnesota 30 August 2017)